กรุงศรีนำเสนอ FX Digital Platform ช่วยลูกค้าบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม

กรุงศรีนำเสนอ FX Digital Platform ช่วยลูกค้าบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม

กรุงเทพฯ (6 กรกฎาคม 2566) – กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) โดย กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์มุ่งนำเสนอโซลูชันทางการเงินเพื่อให้การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเป็นเรื่องง่ายขึ้น ผ่าน Foreign Exchange Digital Platform แพลตฟอร์มที่ช่วยลูกค้าบริหารความเสี่ยงด้วยตัวเองได้ตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมคาดการณ์แนวโน้มค่าเงินบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 มีโอกาสแข็งค่าขึ้น คาดระดับการซื้อขายสิ้นปี 2566 อยู่ที่ราว 33.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

นายฮิโรทากะ คุโรกิ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์มุ่งนำเสนอโซลูชันทางการเงินเพื่อช่วยสนับสนุนการขยายธุรกิจของลูกค้าทุกกลุ่มผ่าน 3 มุมมองหลัก ซึ่งได้แก่ Digitalization, ESG และ AEC ในมุมมองแรกDigitalization กรุงศรีพร้อมที่จะช่วยลูกค้าทุกกลุ่มในการดูแลและบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความ

ผันผวนผ่าน FX Digital Platform ซึ่งครอบคลุมตลอดเส้นทางประสบการณ์ของลูกค้า ตั้งแต่การอัปเดตข่าวสาร การทำธุรกรรม จนถึงการยืนยันธุรกรรม โดยเริ่มต้นจาก Krungsri FX ซึ่งเป็นบัญชีทางการบนLINE แอปพลิ

เคชันที่ลูกค้าสามารถเช็กข่าวสารตลาดการเงินและประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยมีการนำเสนอทั้งในรูปแบบของบทวิเคราะห์ และคลิปวิดีโอ หลังจากนั้น ลูกค้าสามารถเข้าใช้บริการแพลตฟอร์มต่างๆ ของธนาคาร ซึ่งได้แก่ FX@Krungsri โมบายแอปพลิเคชัน และบนกรุุงศรีบิซออนไลน์ ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม FX@Krungsri ซึ่งปัจจุบันได้ให้บริการแก่ลูกค้านิติบุคคลในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศมากถึง 28 สกุลเงินทั่วโลกได้ตั้งแต่เวลา 06.00 – 24.00 น. โดยลูกค้าสามารถตั้งคำสั่งซื้อขายอัตโนมัติในราคาที่ต้องการเมื่อตลาดเคลื่อนไหวถึงราคาที่ตั้งไว้ และเมื่อทำธุรกรรม FX เสร็จสิ้นแล้ว ลูกค้ายังสามารถยืนยันธุรกรรมผ่านระบบ e-FX confirmation ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่สาขา เพื่อยื่นเอกสารยืนยันธุรกรรม ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตลูกค้าง่ายขึ้น ประหยัดทั้งทรัพยากรและเวลาได้อีกด้วย

ในมุมมองที่สอง ESG (Environment, Social and Governance) ในเดือนที่ผ่านมา ธนาคารได้ออกตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) และตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเล(Blue Bond) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยได้ระดมเงินทุนจาก IFC มูลค่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นจำนวนเงินที่ออกตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับ ESG สูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเคยออกมาในปี 2562 กรุงศรีประสบความสำเร็จในการออกตราสารหนี้ Women Entrepreneurs Bonds เป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดังนั้น การออก Green & Blue Bond ในเดือนที่ผ่านมา จึงเป็นการเพิ่มการสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งกรุงศรีจะยังคงยึดมั่นพันธกิจในการสนับสนุนการขยายธุรกิจ ESG ของลูกค้าต่อไปในอนาคต

ในมุมมองที่สาม AEC (ASEAN Economic Community) ธนาคารกรุงศรียังได้สนับสนุนการขยายธุรกิจของลูกค้าไปยังภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย การที่กรุงศรีเป็นสมาชิกของ MUFG ทำให้ธนาคารสามารถใช้เครือข่ายสาขาของ MUFG และธนาคารพันธมิตรที่ตั้งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านในการให้บริการที่หลากหลายแก่ลูกค้าที่มีความต้องการในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อการชำระเงินในภูมิภาค ทั้งนี้ กรุงศรีจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการ FX ที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจของลูกค้าไปยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในอนาคต”

นอกจากนี้ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ยังได้ให้ภาพรวมของสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 โดยระบุว่า “ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เป็นปัจจัยชี้นำสำคัญสำหรับค่าเงิน โดยในช่วงครึ่งปีแรกเงินบาทเคลื่อนไหวในโซนอ่อนค่า แต่ยังเกาะกลุ่มไปกับสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนถ่วงค่าเงินหยวนลง ดังนั้น หากมองไปข้างหน้าในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 นี้ คาดการณ์ว่า แม้ธนาคารกลางชั้นนำของโลกยังยืนยันว่าการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อยังเป็นเป้าหมายหลัก แต่เราเห็นว่าการคุมเข้มทางการเงินอย่างแข็งกร้าวในช่วงที่ผ่านมาจะบั่นทอนกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยใกล้สุดทางแล้วอย่างไรก็ดี เงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งลดลงช้าจะส่งผลให้ดอกเบี้ยค้างอยู่ที่ระดับสูงต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง” นางสาวรุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการอาวุโส 

สายงานวางแผนโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าว

“ขณะที่เงินบาทมีแนวโน้มผันผวนในทิศทางแข็งค่า เราคาดหวังระดับการซื้อขายสิ้นปี 2023 ที่ราว 33.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ บนสมมติฐานที่ว่าสหรัฐฯ ใกล้ยุติการขึ้นดอกเบี้ย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงสถานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ได้แรงส่งเชิงบวกจากภาคท่องเที่ยว นอกจากนี้ คาดว่าภาพการเมืองในประเทศจะมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยดึงดูดกระแสเงินทุนให้ไหลกลับเข้ามาในสินทรัพย์สกุลเงินบาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในนโยบายด้านเศรษฐกิจและเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่ด้วยสำหรับประเด็นเรื่องความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และการเหวี่ยงตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังต้องติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง” นางสาวรุ่ง กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวเกี่ยวข้อง